Popular Posts

Tuesday, April 9, 2013

ขายโลงศพกันดีกว่า


ขายโลงศพกันดีกว่า
 
 
      ทำเป็นเล่นไปรายได้ดีนะครับ อย่าง ร้านในตลาดเเถวบ้านผมเนี่ย โอโหเดี๋ยวมีคนเเถวบ้านมึงร้านขายเยอะเเยะเลย เเต่มันก็มีนะครับ อย่างร้านประเภท โรงเเบบจีนขายดีครับไม่รู้ทำส่งหรือเปล่าเห็นพี่เเกเอาสีมาทาโรงด้วยครับก็จัดว่าขายดีเพราะผมเดินผ่านบ้านเเกเกือบทุกวัน ก็ทำทุกอาทิตย์นะครับ โรงสองโรงบ้างเเล้วเเต่ว่าคนตาย มากตายน้อยในพื้นที่เเละกำไรไม่ต้องพูดถึงครับ ยังไงกำไรต้องดีนะครับ
 
        เพราะของพวกนี้ไม่ได้ขายได้บ่อยๆ เเต่ร้านนี้จัดว่าทำดีหละครับคือขายได้มากกำไรต้องเกิน 200 % ถ้าเป็นโรงสั่งอะนะ เเต่เป็นร้านโรงคนจีนผมว่ายังรายได้ดีกว่าโรงไทยครับ เพราะโรงไทยพี่เเกทำไว้อยู่เเล้วครับเเต่ร้านนี้เป็นร้านสั่งทำครับ เเต่พูดก็พูดนะครับ บรรยากาศร้านพี่เเกโคตรหดหู่เลยครับ เเค่คิดก็ขนลุกเเล้ว เเต่เค้าเปิด line product อย่างอื่นอีกนะครับคือ ดอกไม้จันทร พวกหรีด อันนี้ขายดีครับ ต้องหาคนรายมือสวยๆมาเขียนด้วยครับ ขาดไม่ได้เลยครับเกร็ดเเวบๆอะไรนี่เเหละครับ เอามาโรยครับ ก็ไม่เข้าใจนะครับว่าโรยทำไม เเต่อย่างว่าอาชีพนี้มันพูดยากครับ เราก็ไม่ได้โกงใครเเต่เป็นอะไรที่ดูไม่ดีนะครับ
 
เพิ่มเติม จาก http://culturalism.blogspot.com
      ในปัจจุบันแม้ว่าพิธีกรรมการเบิกโลงจะแทบสูญหายไปหมดสิ้นแล้ว แต่ความเชื่อในเรื่องการปูฟาก ๗ ซี่ที่ใต้โลงศพก็ยังมีอยู่ ร้านขายโลงบางร้านบอกว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่สั่งโลงมาจากกรุงเทพและไม่ได้ใส่ไม้ ๗ ซี่ไว้ ผู้มาซื้อโลงก็ไม่ซื้อ เลยต้องสั่งให้ใส่ไม้ ๗ ซี่ไว้ด้วย ซึ่งบางแห่งแหล่งผลิตโลงศพไม่มีไม้ไผ่ ก็อาจใช้ไม้ระแนงแทนก็ได้ แต่ไม้ที่ใช้จะต้องเป็นไม้ยาวท่อนเดียวไม่มีการต่อ เพราะเชื่อว่าการต่อไม้ก็หมายถึงจะมีการตายต่อๆ กัน ท่านผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ที่เป็นไม้ไผ่ ๗ ซี่ ก็เพราะคนเมื่อตายนั้นได้นอนแค่ไม้ไผ่ ๗ ซี่ ไม่ได้มากไปกว่านั้น หรือดังที่คนโบราณสอนให้เปรียบเทียบ
 
       ให้รู้จักปลงอนิจจังว่า ตายไปแล้วเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้นอกจากไม้ฟาก ๗ ซี่ ดังที่เพลงบอกปานบอดก็เคยขับเพลงบอกไว้ว่า “มีแต่ฟาก ๗ ซี่ สาดผืนหมอนหน่วย ติดไปด้วยกามัย (กาย) น่าใจหาย…” (ปานบอด คือศิลปินพื้นบ้านเพลงบอก ชาวลุ่มน้ำปากพนังผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต อ้างใน ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์,อ้างแล้ว หน้า ๒๕๓.) ซึ่งเป็นการเตือนว่าคนเราเมื่ออยู่ก็อย่าละโมบโลภมาก เมื่อตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ แต่บางท่านบอกว่าเป็นกุศโลบายที่ทำเป็นช่องระบายน้ำหนอง น้ำเหลือง หรือระบายอากาศจากศพนั่นเอง
 
นอกจากนั้นในสมัยก่อนยังมีการวางบันไดจำลองเล็กๆ บนโลงศพอีกด้วย โดยมีการใช้ไม้ไผ่ซีกเล็กๆ กว้างยาวเท่ากับปากหีบศพวางไว้บนหลังหีบศพ บางแห่งทำเป็น ๓ ขั้น บางแห่งทำ ๔ ขั้น บันได ๓ ขั้นหมายถึงภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ส่วนบันได ๔ ขั้น หมายถึง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือบันไดที่ทุกคนจะต้องเดินไปตามลำดับ บ้างก็ว่าหมายถึง กามภพ รูปภพ อรูปภพ และนิพพาน (กลิ่น คงเหมือนเพชร, อ้างแล้ว หน้า ๒๑ – ๒๒.)
จะเห็นได้ว่าความเชื่อเกี่ยวกับโลงศพนั้นมีความเชื่ออยู่หลายอย่าง
        โดยไม่นับรวมความเชื่อเรื่องพิธีกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความตาย อย่างไรก็ตามความเชื่อเหล่านี้ก็ค่อยๆ ลบเลือนไปตามกาลเวลา แม้จะยังมีอยู่บ้างแต่ก็เป็นไปตามประเพณี หรือสิ่งที่ปฏิบัติตามต่อๆ กันมาโดยไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งถึงความหมายที่ต้องการสื่อแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดการปรับเปลี่ยนความเชื่อใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับโลงศพเข้ามาสู่สังคมปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน
 
ดังเช่นการปรับเปลี่ยนจากความเชื่อในเรื่องของการสั่งสอนธรรมะตามปริศนาธรรม ที่คนรุ่นก่อนได้วางเป็นอุบายไว้ในพิธีกรรมต่างๆ มาเป็นความเชื่อเกี่ยวกับตัวคนมากยิ่งขึ้น ทั้งคนเป็นที่ยังอยู่ และคนที่ตายไปแล้ว เช่น ความเชื่อเรื่องการทำบุญ โดยการบริจาคโลงศพให้กับวัดหรือมูลนิธิต่างๆ นั้นเป็นการสะเดาะเคราะห์และทำบุญต่ออายุให้กับผู้บริจาค ซึ่งเป็นผลให้มีคนบริจาคโลงศพมากขึ้น บางคนจะบริจาคโลงศพเป็นประจำทุกปี โดยการบริจาคเป็นเงิน ใบละ ๓๐๐ – ๕๐๐ บาท (เป็นโลงใบใน) มีบ้างที่มีการบริจาคเป็นโลงแอร์ให้กับวัดนำไปใช้บริการงานศพต่างๆ
 
นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้โลงในกลุ่มญาติผู้ตายบางส่วนว่า โลงศพเปรียบเสมือนบ้านหลังสุดท้ายของผู้ตาย การใช้โลงไม้ที่เผาไปพร้อมกับศพผู้ตายเลย จะทำให้เขามีที่อยู่ของเขาเองในสัมปรายภพ แต่ถ้าใช้โลงแอร์ซึ่งเช่าเขามา ผู้ตายจะต้องถูกเช่าที่อยู่ในสัมปรายภพด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า โลงแอร์จะนิยมใช้ในกลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงต่ำ เพราะมีราคาไม่แพงนักคือราคาประมาณ ๕,๐๐๐ บาท ส่วนผู้ที่มีฐานะทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมจะนิยมใช้โลงไม้ ที่มีการตกแต่งสวยงาม มีราคาถึงใบละประมาณกว่าหมื่นบาทเลยทีเดียว ซึ่งในการซื้อโลงส่วนใหญ่จะไม่มีการต่อรองราคา
 
โดยเฉพาะในกลุ่มคนจีน เพราะเขาถือว่าการต่อรองราคาจะเป็นการทำให้มีญาติพี่น้องตายต่อๆ กันไป และบางคนยังให้เงินเพิ่มจากราคาเดิมอีก ๙ บาท หรือ ๑๙ บาท ด้วยความเชื่อว่าให้ผู้ตายสามารถนำไปใช้ได้ และเป็นการต่ออายุของผู้ที่ยังอยู่อีกด้วย (ในโลงศพที่ลูกค้ามาใช้บริการนั้น ทางร้านจะมีหมอน ๑ ใบ เสื่อ ๑ ผืน และกรวยมือสำหรับผู้ตายอันประกอบด้วยดอกไม้ ธูปเทียนและหมากพลู ๑ ชุด ให้ไปพร้อมกับโลงศพด้วย นัยว่าให้ผู้ตายนำไปบูชากราบไหว้พระจุฬามณี อันเป็นพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เจดีย์สวรรค์”) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า จากเดิมที่เคยเป็นพิธีกรรมความเชื่อ ตอบสนองต่อการสร้างปทัสฐานของสังคมโดยรวม กลับแปรเปลี่ยนมาเป็นพิธีกรรมความเชื่อ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลมากขึ้น
 
สำหรับผู้ประกอบการร้านขายโลง และผู้จัดทำโลงในปัจจุบันที่ศึกษานั้น ไม่พบว่ามีพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ทั้งนี้เพราะการเข้าสู่ธุรกิจของผู้ประกอบการไม่ได้เข้ามาโดยมีฐานคิดของความเชื่อแต่อย่างใด แต่เข้ามาสู่ธุรกิจโดยการมองเห็นช่องทางการค้า และเห็นว่าการประกอบอาชีพการขายโลงก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆ โดยทั่วไป และเขาถือว่าโลงที่ทำมาใช้เป็นโลงที่ทำใหม่และใช้ไม้ใหม่ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมแต่อย่างใด ไม่เหมือนในอดีตที่ใช้ไม้โลงเดิมที่เคยใช้แล้ว และไม่ได้เผาไปพร้อมกับผู้ตาย โดยเฉพาะส่วนที่เป็นฝาโลงเก็บไว้ที่วัดมาทำโลงใหม่ ซึ่งไม้โลงที่เหลือจากการเผาเหล่านี้จะเป็นทรัพย์สมบัติของส่วนรวม ที่ชุมชนจะได้นำมาใช้ประโยชน์ต่อไป แต่ในปัจจุบันการเกิดขึ้นของธุรกิจการขายโลงที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งในเรื่องตัวโลงศพเองและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
 
         ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ความเชื่อที่เกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับโลงศพจึงค่อยๆ ลดหายลงไป โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ค้าขายกลุ่มนี้ ที่ไม่พบพิธีกรรมความเชื่อใดๆ เกี่ยวกับโลงศพที่จำหน่าย แม้จะมีการคงรูปแบบบางประการของโลงศพแบบดั้งเดิมไว้บ้าง ก็เป็นเพียงแค่การตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบของการตลาดเท่านั้น จะเห็นได้ว่าในระบบธุรกิจการค้าประเภทนี้ จะแยกขาดออกจากรูปแบบความเชื่อของสังคมซึ่งเป็นผู้บริโภคสินค้าไม่ได้ แม้จะไม่ได้มีความเชื่ออยู่ในผู้ประกอบการธุรกิจกีตาม

No comments:

Post a Comment