ทำธุรกิจขายร้านกาเเฟเคลื่อนที่
ธุรกิจขายกาแฟสด นับเป็นอีกอาชีพยอดฮิตของคนไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งแบรนด์ “ชาวดอย” ในเครือ “อโรม่า กรุ๊ป” ถือเป็นลำดับต้นๆ ที่มีผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์กาแฟสดจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบ Kiosk , Coffee Corner และ Stand Alone โดยมีสาขารวมกันกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ และล่าสุด ได้ขยายโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ “ชาวดอย มูฟวิ่ง” ในรูปแบบ “รถตุ๊กตุ๊กขายกาแฟ” เปลี่ยนแนวทางธุรกิจจาก “เชิงรับ” สู่ “เชิงรุก” เพื่อให้สามารถวิ่งตระเวนเปลี่ยนทำเลขาย เข้าหาลูกค้าได้ทั่วถึงและกว้างขวางยิ่งขึ้น เปิดโอกาสสำหรับคนที่กำลังมองหาช่องทางอาชีพ ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 490,000 บาท วางจุดขายใช้เครื่องชงระบบแก๊ส แก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องหาที่เสียบปลั๊กไฟฟ้าได้ยาก
พริษฐ์ อนุกุลธนาการ
พริษฐ์ อนุกุลธนาการ ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือ “อโรม่า กรุ๊ป” ซึ่งรับผิดชอบโครงการดังกล่าว ให้ข้อมูลกับ “ผู้จัดการออนไลน์ หน้า SMEs” ว่า แนวคิดสำคัญในการเพิ่มโมเดลธุรกิจเป็นรถตุ๊กตุ๊กขายกาแฟสดชาวดอย หรือ “ชาวดอย มูฟวิ่ง” มาจากต้องการลดข้อจำกัดเรื่อง “ทำเล” ให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากร้าน หรือคีออสที่ตั้งอยู่กับที่ บางทำเลจะขายได้เฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น หรือบางพื้นที่ หลังดำเนินธุรกิจไปแล้วอาจถูกยกเลิกการให้เช่า ทั้งหมดล้วนเป็นความเสี่ยงของผู้ประกอบการ
ดังนั้น จึงคิดถึงการทำธุรกิจในเชิงรุก โดยเป็นฝ่ายเข้าถึงผู้บริโภคเสียเอง ซึ่งรถขายกาแฟแบบเคลื่อนที่จะเป็นคำตอบที่แก้ปัญหาข้างต้นได้ เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง วิ่งหาทำเลขายได้ทุกที่ แถมไม่เสียค่าเช่า อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีการดัดแปลงรถเป็นร้านกาแฟอยู่จำนวนไม่น้อยแล้ว ทว่า ทั้งหมดใช้ “เครื่องชงกาแฟระบบไฟฟ้า” ซึ่งมีข้อจำกัดประการสำคัญ คือ ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก กว่า 4,000 วัตต์ ดังนั้น ผู้ขายจึงต้องกังวลว่า ไฟฟ้าจะไม่พอชงกาแฟ ต้มน้ำจะไม่ทัน ทุกจุดที่จะนำรถไปจอดขาย จำเป็นต้องหาที่เสียบปลั๊กไฟฟ้าสำรองไว้ ฉะนั้น รถขายกาแฟที่ผ่านมา จึงยังไม่สะดวก และคล่องตัวอย่างแท้จริง
“จากที่เราทำการวิจัยข้อมูลธุรกิจกาแฟ ทำให้รู้ว่า รถขายกาแฟในท้องตลาด จะพบปัญหาสำคัญตรงกัน คือ ผู้ขายต้องพะวงเรื่องหาที่เสียบปลั๊กเครื่องชง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปขายยังจุดที่ผู้บริโภคต้องการได้ทั่วถึงทั้งหมด ผมและทีมงานจึงเริ่มไปหาเครื่องชงในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องชงกาแฟ “ระบบแก๊ส” ซึ่งในต่างประเทศใช้กันมานานแล้ว แต่ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากคนไทยเกรงว่า กาแฟสดที่ชงด้วยระบบแก๊ส รสชาติจะไม่เหมือนชงด้วยเครื่องระบบไฟฟ้า และอีกประเด็น คือ กังวลเรื่องความปลอดภัย และการซ่อมบำรุงเครื่อง ดังนั้น เราพยายามคัดเลือกจนได้เครื่องชงระบบแก๊ส จากประเทศสเปน ซึ่งประหยัดพลังงานมาก และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงระดับสากล” พริษฐ์ ให้ข้อมูล และอธิบายต่อว่า
เครื่องชงระบบแก๊สดังกล่าว ใช้พลังงานแก๊ส LPG มีแรงดันระดับ 9 บาร์ ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยระดับมาตรฐาน สามารถชงกาแฟได้รสชาติไม่แตกต่างจากเครื่องชงไฟฟ้า ซึ่งการทำงานของเครื่องจะเป็น 2 ระบบ กล่าวคือ ใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้าล้วนๆ กับระบบแก๊ส ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายกับรถยนต์ที่ติดแก๊สทั่วไป โดยใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถยนต์เป็นตัวนำ เพียงแค่ 120 วัตต์ หรือประมาณเท่ากับหลอดไฟฟ้า 1 หลอด จากนั้น จะทำงานต่อด้วยแก๊ส LPG ซึ่งติดตั้งมากับตัวรถ โดยเป็นถังแก๊สใบจิ๋ว ขนาดเล็กกว่าถังแก๊สปิกนิกตามบ้านเสียอีก สามารถใช้ชงกาแฟได้ต่อเนื่องเช้าถึงเย็น นานกว่า 1 สัปดาห์
มีจุดขาย ใช้เครื่องชงระบบแก๊ส ช่วยให้ประหยัดพลังงาน สามารถวิ่งไปขายได้ทุกที่
มีจุดขาย ใช้เครื่องชงระบบแก๊ส ช่วยให้ประหยัดพลังงาน สามารถวิ่งไปขายได้ทุกที่
พริษฐ์ เผยต่อว่า ส่วนเหตุผลที่เลือกเป็นรูปแบบรถสามล้อ หรือ “รถตุ๊ก ตุ๊ก” นั้น เนื่องจากกาแฟชาวดอยเป็นแบรนด์ของคนไทย จึงเหมาะกับรถตุ๊กตุ๊ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไทยเช่นกัน รวมถึง การวางตำแหน่งกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ต้องการเน้นไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ดังนั้น รถตุ๊กตุ๊กขายกาแฟจึงเหมาะจะวิ่งไปขายตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สำหรับรูปทรงของรถตุ๊กตุ๊กชาวดอย ได้ออกแบบให้เป็นสไตล์สามล้อประยุกต์ มีความทันสมัย โฉบเฉี่ยวเร้าใจ อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ เหมาะจะเปิดเป็นร้านขายกาแฟได้สะดวก โดยทางบริษัทฯได้ว่าจ้างโรงงานที่มีประสบการณ์ต่อรถสามล้อให้ต่อรถตามแบบที่ต้องการ
ภายในรถ จัดพื้นที่สำหรับขายกาแฟ
ภายในรถ จัดพื้นที่สำหรับขายกาแฟ
@@@ ลงทุน 4.9 แสน ขาย 80 แก้ว/วัน คืนทุนใน 2.5 ปี @@@
ด้านการลงทุนรถตุ๊กตุ๊กขายกาแฟชาวดอยนั้น เริ่มต้นที่ 490,000 บาท ประกอบด้วยรถสามล้อติดตั้งเครื่องชง พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ในการเริ่มอาชีพ กว่า 38 รายการ (เงินลงทุนจะปรับเพิ่มขึ้น ตามอุปกรณ์เสริมพิเศษต่างๆ เช่น รถสามล้อมีทั้งรุ่นเกียร์ธรรมดา และเกียร์ออโต้ เป็นต้น) ในส่วนเมนูเครื่องดื่มต่างๆ ภายในรถสามล้อชาวดอย รสชาติและเมนูจะเหมือนร้านกาแฟชาวดอยทั่วไปทุกประการ เบ็ดเสร็จมีประมาณ 60 เมนู ราคาเฉลี่ยแก้วละ 25-40 บาท โดยผู้ขายจะมีกำไรหักเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ ประมาณ 60-65% จากราคาขาย ซึ่งจากการทำตลาดต้นแบบ หากขายได้วันละ 80 แก้ว หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ผู้ลงทุนจะมีอัตราคืนทุนในระยะเวลา 2-2.5 ปี
ด้านเงื่อนไขการลงทุนแฟรนไชส์นั้น พริษฐ์เผยว่า ใช้โมเดลเดียวกันแฟรนไชส์ชาวดอยรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ เป็นการลงทุนครั้งเดียว ไม่มีเรียกเก็บส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดขาย แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ลงทุนต้องสั่งและรับวัตถุดิบเฉพาะจากบริษัทฯ หรือสถานที่ซึ่งบริษัทฯ อนุมัติเท่านั้น อีกทั้ง ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่บริษัทฯ กำหนดเท่านั้น ในกรณีต้องการขายสินค้าอื่นๆ เสริมในร้าน ต้องเป็นสินค้าไม่ซ้ำ ไม่ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ในเครือของแบรนด์ชาวดอย
ด้านเงื่อนไขการลงทุนแฟรนไชส์นั้น พริษฐ์เผยว่า ใช้โมเดลเดียวกันแฟรนไชส์ชาวดอยรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ เป็นการลงทุนครั้งเดียว ไม่มีเรียกเก็บส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดขาย แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ลงทุนต้องสั่งและรับวัตถุดิบเฉพาะจากบริษัทฯ หรือสถานที่ซึ่งบริษัทฯ อนุมัติเท่านั้น อีกทั้ง ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่บริษัทฯ กำหนดเท่านั้น ในกรณีต้องการขายสินค้าอื่นๆ เสริมในร้าน ต้องเป็นสินค้าไม่ซ้ำ ไม่ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ในเครือของแบรนด์ชาวดอย
สำหรับการสนับสนุนผู้ที่มาร่วมเป็นแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ จะช่วยเหลือผู้ลงทุน ตั้งแต่สอนขับรถสามล้อ และพาไปทำใบอนุญาตขับขี่รถสามล้อ รวมถึง มีการอบรมอาชีพการทำกาแฟครบถ้วน ตั้งแต่การชง และการเปิดร้าน บริหารธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น จะมีบริการซ่อมบำรุงเครื่องชงตามเงื่อนไขสัญญา โดยปัจจุบัน มีเครือข่ายตัวแทนคอยดูแลสมาชิกแฟรนไชส์กระจายตามจังหวัดต่างๆ กว่า 25 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนั้น จะช่วยทำประชาสัมพันธ์แบรนด์ในภาพรวม ทว่า ในส่วนค่าซ่อมบำรุงรถสามล้อต่างๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเป็นผู้ดูแลรักษาเอง
ผู้บริหารเครืออโรม่า เผยต่อว่า ตั้งเป้าว่า ภายในปีนี้ (2555) จะมีแฟรนไชส์รถสามล้อชาวดอย ประมาณ 50 คัน ในทั่วประเทศ นอกจากนั้น ในอนาคตจะมีการพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์รถขายกาแฟแบบอื่นๆ ออกมานำเสนอแก่ผู้สนใจ ตลอดจนกระจายรถเคลื่อนที่ออกตามศูนย์ของ “อโรม่า ชอป” ทั่วประเทศ โดยเบื้องต้นใช้ศูนย์อโรม่า ชอป ที่โชคชัย4 เป็นเซ็นเตอร์ใหญ่ ในการเป็นต้นแบบของศูนย์รถกาแฟเคลื่อนที่เป็นจุดแรก
ภาพเเละบทความจาก http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?
No comments:
Post a Comment