การเปิดร้านปะยางรถมอไซต์
ทำเป็นเล่นไปครับเพราะเห็นว่ารายได้ไม่ดีเเต่ที่ไหนได้รายได้ดีนะครับเเต่ท่านต้องซื้่อสัตย์นะครับ เช่นมีคนมาปะยางเนี่ยอันไหนปะได้ก็ปะอันไหนปะไม่ได้ก็ต้องบอกลูกค้าไปตรงๆ อย่างร้านเเถวบ้านผมเเม่งกวนตีน มันเอายางไหนมากดกับน้ำหารูรั่วมันปะจริงนะครับ
เเต่มันไม่เอามือล้วงไปในยางหาตะปูหรืออะไรเเบบนี้ ตะปูมันยังคาอยู่เนี่ยเอ็งขับไปก็รั้วอีก หรือ มีเศษตะปูอยู่ข้างในยางรถเอ็งก็ไม่เอาออกอีก หรือ เป็นนิดเดียวเเต่ให้เปลี่ยนไส้ยางทั้งอันไม่ปะเลย ผมอยากจะบอกว่าร้านที่ผมรู้จักเนี่ยพี่เเกปะยางอย่างเดียวเลยมา 30 ปีเเล้วทุกวันนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อปะยางอย่างเดียว พี่เเกไม่ว่างเลยเคยนับตอนมากินข้าวเเถวร้าน ชั่วโมงนึีงมีปะ 5-6 คันเเล้วอะคือวันๆไม่ว่างเลย จำไว้ครับทำอะไรอย่างไปเอาเปรียบเค้ามาก
บทความเกี่ยวกับปะยางเพื่อใคร
ใช้งานมันอยู่ทุกวันทุกวี่อย่างน้อยมันก็ต้องมีสักครั้งสำหรับคนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นประจำที่จะต้องพบปัญหาเดียวกันคือ “ยางรั่ว” ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งยางรั่วซึมเองจากความเสื่อมของเนื้อยาง และความละเลยในเรื่องของลมยางจนทำให้ขอบล้อบดยางในจนรั่วที่เรียกกันว่า “ขอบกัดยาง”
แต่ที่มักจะมาแบบทำให้เสียอารมณ์มากที่สุดเห็นจะเป็นยางที่รั่วจากการถูกทิ่มตำด้วยของแหลมคมเวลายางรั่วเราก็มักจะคิดถึงร้านซ่อมร้านปะยางเป็นที่พึ่ง ทำไงก็ได้ให้ถึงร้านแล้วโยนงานให้ช่างจากนั้นก็นั่งรอ ไรดิ้งเซอร์วิสฉบับนี้เราจะมาพิจารณากันสักนิดถึงงานที่ช่างเขาทำให้เราว่ามันมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้าง หรือใครจะเอาไว้ใช้ลงมือกันเองเป็นการฝึกทักษะเชิงช่างของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เรื่องที่หลีกเลี่ยงไมได้คือ
การบดยางเพราะเวลายางรั่ว ยางก็จะแบนทันทีหรือไม่ก็ค่อยๆซึมออกอย่างรวดเร็วมีสองวิธีไม่ขี่ก็เข็น การเข็นเป็นวิธีถนอมชิ้นส่วนที่ดีที่สุด เพราะน้ำหนักที่ไม่กดทับจะทำให้ยางในไม่ช้ำและยางนอกไม่เสียโครงสร้าง จะให้เบาแรงใช้วิธีติดเครื่องยนต์เข้าเกียร์แล้วจูงรถไป แต่ถ้ามันไกลมากเดินจูงไม่ไหวก็คงต้องขี่มันไปทั้งที่ยางแบนอย่างนั้น กว่าจะถึงร้านยางในที่ไม่มีลมก็จะย่นมากองเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก ส่วนมากเจ้าของรถมักไม่รู้ครับ เพราะว่าไม่ได้งัดยางเอง
เมื่องัดยางออกมาดูแผลแล้วก็จะประเมินครับว่าจะปะหรือเปลี่ยน ถ้าแผลเล็กก็ปะไปแต่ถ้าแผลใหญ่หรือยางในสภาพเริ่มไม่ไหวก็ต้องเปลี่ยน เรื่องเปลี่ยนยางนี่นับเป็นงานช้างสำหรับบรรดารถออโตเมติกยอดฮิตในปัจจุบันเท่าที่เห็นกันมาเปลี่ยนยางเส้นเดียวนี่ต้องถอดชิ้นส่วนเยอะมากทั้งท่อไอเสียก็ยังต้องถอดไม่งั้นมันถอดไม่ได้ ตรงกันข้ามกลับเป็นความสบายของรถขับด้วยโซ่ที่ยุ่งยากน้อยกว่า นอกจากยางที่งัดออกมาปะหรือเปลี่ยนแล้ว ส่วนประกอบอื่นก็อย่าลืมดูด้วยนะครับ ทั้งลูกปืน ยางกันกระชาก ผ้าเบรก ดุมเบรก เพลาล้อ และชิ้นส่วนอื่นรอบๆ ควรทำความสะอาดและหล่อลื่นรวมถึงเปลี่ยนใหม่ถ้าหากสภาพมันไม่ไหวแล้วเช่นกัน
1. ยางแบนหมดสภาพขนาดนี้ไม่มีลมเหลือไปไหนก็ไมได้น่าจะแผลใหญ่พอสมควร
2. เบื้องต้นลองหาสาเหตุหมุนวงล้อดูรอบๆหาต้นเหตุอาจเป็นเศษเหล็กหรือตะปูทิ่มเข้าหน้ายาง
3. ถอดแล้วเอาล้อออกมาเริ่มจากดุมสเตอร์เพื่อถือโอกาสตรวจสภาพยางกันกระชากด้วย
4. อีกด้านเป็นดุมเบรกก็เช่นกัน ใช้งานมานานไม่รู้ผ้าเบรกใกล้หมดหรือยังจะเห็นก็คราวนี้
5. คลายน็อตจุกลมของยางในออกเพื่อเตรียมถอดยางในออกมาตรวจหาจุดรั่ว
6. กดขอบยางนอกให้หลุดจากขอบวงล้อรอบวงทั้งสองด้านจะทำให้ง่ายเวลาที่งัดยาง
7. รถที่ขี่บดมาส่วนมากยางในจะปลิ้นมาแทรกอยู่ระหว่างขอบล้อกับขอบยางนอกทำให้งัดยาก
8. จากนั้นช่างจะเริ่มงัดยางนอกเพื่อที่ได้รู้กันว่ามันหนักหนาสาหัสขนาดไหนสำหรับแผลครั้งนี้
9. งัดขอบยางนอกออกมาก็จะสอดมือไปคว้าเอายางในออกมาได้
10. เศษเหล็กเล็กๆ ชิ้นเดียวก็เปิดแผลได้มากเพราะตอนที่ขี่รถบดยางกว่าจะมาถึงร้าน
11. ตรวจสภาพยางรองซี่ลวดด้านในพร้อมกับตรวจด้านในของยางนอก ว่าไม่มีเศษอันตรายหลงเหลืออยู่
12. ขนาดของยางที่ใช้ก็สำคัญ ถ้าขนาดไม่ตรงกันมันก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงด้วย ดูดีๆ
13. เติมลมเข้ายางเส้นในเล้กน้อยให้พองเป็นวงกลมจะได้ง่ายในการยัดลงไปในยางนอก
14. ใส่จุกลมเข้าไปก่อนแล้วเอาน็อตขันเกลียวเอาไว้ที่ปลายหัวเติมลมกันหลุดจากขอบล้อ
15. จากนั้นเอายางในไล่ลงไปในยางนอกให้เต็มวงล้อ ลมที่เติมไว้นิดหน่อยจะทำให้ง่ายขึ้น
16. ระวังกันหน่อยเวลาใส่อย่าให้ยางในพับหรือบิดเป็นเกลียวมันจะทำให้ยางรั่วหลังใช้ไปไม่นาน
17. ใช้มือกดไล่ขอบยางให้ลงไปในขอบวงล้อควรเริ่มที่จุกเติมลมก่อนด้วยการกดจุกแล้วจึงกดยางดัง ในภาพ
18. จากนั้นก็จะใช้เหล้กงัดไล่ไปทีละนิดจนยางนอกลงไปในขอบล้อทั้งวงก็สูบลมได้
19. ถ้ายางขึ้นขอบไม่เท่ากันก็ใช้น้ำลูบตรงที่ยังไม่ขึ้นขอบแล้วเติมลมเพิ่มเข้าไป ลมจะดันยางขึ้นมาเอง
20. ดุมเบรกมักจะเต็มไปด้วยผงผ้าเบรกทำความสะอาดก่อนที่จะประกอบเข้าไปจะได้เบรกหนึบ
21. ยางกันกระชากที่ดุมเสียหายหนักก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ไปในคราวเดียว
22. ยางกันกระชากชุดใหม่จะทำให้การออกตัวไม่กระตุกขับขี่ได้นุ่มนวลประหยัดน้ำมัน
23. เพลาล้อก็รับงานหนักอย่างนี้ต้องทำความสะอาดจะช่วยให้การหมุนของล้อดีขึ้น
24. ทาจาระบีที่เพลาล้อหน่อยจะได้ประโยชน์ทั้งการหล่อลื่นและป้องกันการเกิดสนิม
No comments:
Post a Comment